เมื่อเกิดปัญหาอาชญากรรมที่เด็กเป็นผู้ก่อ เด็กคือจำเลยที่ 1 และพ่อแม่คือจำเลยที่ 2 อย่างไม่มีข้อโต้แย้ง แต่นอกเหนือจากพ่อแม่แล้ว เราแน่ใจได้อย่างไรว่า ไม่มีจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 4 หรือจำเลยอื่นๆ ที่มีส่วนปั้นแต่งเด็กคนหนึ่งให้กลายเป็นอาชญากรขึ้นมา ในเสวนา ‘อาชญากรเด็กเป็นเองไม่ได้ : ใครต้องรับผิดชอบ?’ ซึ่งจัดโดยศูนย์กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชวนตั้งคำถามและฉุกคิดถึงสาเหตุของการกระทำที่เด็กก่อขึ้น บทลงโทษตามกฎหมายที่เด็กได้รับ กฎหมายเอาผิดพ่อแม่ช่วยลดปัญหาเดิมหรือสร้างปัญหาใหม่ อีกปัญหาสำคัญคือ การซ่อมแซมเด็กที่ก้าวพลาดเพื่อให้กลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้ควรต้องใช้วิธีแบบใด และใครที่จะมีส่วนช่วยป้องกันไม่ให้เด็กกลายไปเป็นอาชญากรได้บ้าง เราเป็นหนึ่งในนั้นด้วยหรือไม่?
“ตอนที่ผมลั่นไกครั้งแรก ไม่มีใครตายเลยครับ แต่ทุกคนที่อยู่แวดล้อมผมมันปลื้มผมมาก ผมได้รับการยอมรับมากในวันนั้น ผมรู้สึกมีความสุขกับสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน ดังนั้นการลั่นไกครั้งที่สอง ต้องมีคนตาย เพราะผมไม่อยากให้คนที่ปลื้มผมผิดหวัง”ไดอารีก่อนนอนของเยาวชนคนหนึ่งในบ้านกาญจนาภิเษก ถูกนำมาบอกเล่าโดย ป้ามล-ทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก ในเสวนา ‘อาชญากรเด็กเป็นเองไม่ได้ : ใครต้องรับผิดชอบ?’ ซึ่งจัดโดยศูนย์กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และข้อความจากเด็กที่เคยก้าวพลาดนั้น ก็ได้สะท้อนให้เห็นว่า ความรู้สึกไร้ตัวตน ไร้คุณค่า มีพลังมากพอที่จะผลักเด็กคนหนึ่งไปก่ออาชญากรรมได้ไกลเกินกว่าที่คิด
วินาทีตัดสิน กองขยะ และความเป็นธรรม
บ้านกาญจนาภิเษก คือ 1 ใน 19 คุกเด็กที่อยู่ภายใต้สังกัดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
ทว่าเป็นคุกเด็กแห่งเดียวที่ผู้บริหารไม่ได้เป็นข้าราชการของกรมฯ จึงมีภาพต่างไปจากที่คนเข้าใจ ด้วยป้ามลเลือกที่จะใช้พลังเชิงบวกในการซ่อมเด็กที่ก้าวพลาด ไม่ใช่เพียงเปลี่ยนพฤติกรรม แต่มุ่งเป้าเปลี่ยนลึกไปถึง mindset หรือวิธีคิดของเด็ก ก่อนส่งเด็กคืนกลับสู่สังคม แม้ต้องเผชิญกับสงครามทางความคิดและแรงเกรี้ยวกราดของสังคมและเหยื่อที่เข้ามาปะทะอยู่เสมอ
“หน้าที่เราคือต้องอธิบายให้เขาฟัง ว่าการลงโทษแบบตาต่อตาฟันต่อฟันที่ใช้มาตลอดในรูปแบบของคุก เราแทบจะไม่ได้เขากลับคืนมา มีแต่ยิ่งทำให้ความเป็นปิศาจในตัวเขาทรงพลังยิ่งขึ้น เด็กเหล่านี้หลุดจากการเฝ้าระวังมาอย่างชัดเจนแล้ว เมื่อเขาเข้ามาสู่การเยียวยารับผิดรับโทษตามกฎหมาย หน้าที่ของเราคือไม่ผลิตซ้ำในสิ่งที่เขาขาด และเติมในสิ่งที่เขายังไม่เคยมี นั่นคือรูปแบบการทำงานเยียวยา”
เด็กที่เคยกระทำผิดและตกเป็นข่าวหน้าหนึ่งในหลายเหตุการณ์ ถูกส่งต่อมายังบ้านกาญจนาภิเษก ที่ดูแลด้วยหลักการที่ว่า ‘บาดเจ็บที่ไหน รักษาที่นั่น’ เด็กบาดเจ็บที่ใจ ป้ามลรักษาที่ใจเด็ก ทำให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า มีตัวตน และด้วยโมเดลนี้ ป้ามลเผยว่า เด็กบ้านกาญจนาภิเษก 95 เปอร์เซ็นต์ ออกไปใช้ชีวิตในสังคมได้
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น กระบวนการดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าเด็กไม่ถูกลงโทษ โศกนาฏกรรมที่ตกเป็นข่าว ถูกนำเสนอเมื่อเด็กกระทำผิด แต่เมื่อเข้าสู่กระบวนการทางคดีอาญา พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กระบุไว้ว่า ไม่สามารถนำเสนอข่าวที่เป็นผลเสียต่อเด็กได้ กระบวนการหลังจากนั้นจึงถูกปิดกั้นจากการรับรู้ของสังคม
อุกฤษฏ์ ศรพรหม ผู้จัดการโครงการ กลุ่มงานด้านการส่งเสริมหลักนิติธรรมฯ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย อธิบายถึงเกณฑ์การรับผิดว่า
“เกณฑ์อายุขั้นต่ำรับผิดทางอาญาส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 12-15 ปี สูงสุดคือที่สเปน 18 ปี ต่ำสุดคืออินเดีย 7 ปี ส่วนของไทยปัจจุบันอยู่ที่อายุ 12 ปี ต่ำกว่านั้นไม่ต้องรับโทษทางอาญา แต่ไม่ได้หมายความว่าเด็กไม่ได้รับโทษอย่างอื่น เขายังมีความรับผิดด้วยมาตรการเฉพาะสำหรับเด็ก เช่น ความรับผิดทางแพ่ง หรือการปฏิบัติตามแผนบำบัดฟื้นฟูพฤติกรรม ไม่ปรับเงิน ไม่ประหารชีวิต กักขัง คือให้ใช้วิธีการอื่นที่มีประสิทธิภาพก่อน หากจำเป็น ให้ใช้การกักขังเป็นมาตรการสุดท้าย
“ประเทศที่ได้รับการจัดอันดับว่าประชากรมีความสุขมากที่สุดอย่างฟินแลนด์ เกณฑ์อายุต่ำกว่า 15 ปี ไม่ต้องรับโทษ แต่มีมาตรการรับผิดที่ไม่ใช่การคุมขัง เช่น ทำงานบริการสังคม ใช้กำไลอิเล็กทรอนิกส์ บำบัดฟื้นฟูพฤติกรรม จำกัดบริเวณเด็ก” อุกฤษฏ์ยกตัวอย่าง
สำหรับประเทศไทย กระบวนการรับผิดของเด็กกระทำความผิดนั้น ภายหลังคำตัดสิน เด็กจะถูกส่งเข้าศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูเพื่อแก้ปัญหาพฤติกรรมความคิด ภายใต้สภาวะที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเด็กในทุกมิติ
“แล้วเต่าทะเลล่ะ” คำพูดติดปากที่มาจากรายการไกลบ้านของ ฟาโรส (FAROSE) ยูทูบเบอร์ชื่อดัง เมื่อเราคิดจะใช้หลอดพลาสติก ให้คนที่จะใช้หลอดแบบใช้แล้วทิ้ง ฉุกคิดถึงคลิปเต่าทะเลที่ถูกหลอดพลาสติกเข้าไปในโพรงจมูก จำนวนเต่าทะเลทั่วโลกลดลงเป็นอย่างมากในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา และมีอัตราลดลงรวดเร็วอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน นอกจากนี้ 6 ใน 7 สายพันธุ์ของเต่าทะเล จัดอยู่ในประเภทที่ถูกคุกคามหรือใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากเป็นผลการกระทำของมนุษย์ ขยะพลาสติกคืออีกสาเหตุหนึ่งที่เป็นภัยคุกคามต่อเต่าทะเล และหลอดพลาสติกมีส่วนทำให้เกิดขยะในทะเลจำนวน 5.25 ล้านล้านชิ้นลงในมหาสมุทร ซึ่งทั่วโลกเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ แต่อย่างไรก็ตาม อีกสาเหตุสำคัญที่กระทบต่อเต่าทะเลอย่างมากคือ การทำประมงและการบังคับใช้กฎหมายที่ยังไม่สามารถช่วยให้เต่าทะเลได้มีชีวิตอย่างสงบสุขมากนัก ทั้งการลากอวนและการล่าแบบผิดกฎหมาย รวมไปถึงโครงการพัฒนาชายทะเลที่จะกระทบต่อลูกเต่าน้อยในไข่
องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ระบุว่า ภัยคุกคามที่สำคัญที่สุด มี 5 ข้อที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของเต่าทะเล
1. การประมงพาณิชย์และการลากอวน
เต่าทะเลมักถูกจับโดยบังเอิญหรือเข้าไปติดกับอวนจับปลาเชิงพาณิชย์ ซึ่งเมื่อเต่าทะเลเข้าไปติดในอวนมักจะจมน้ำตายเป็นส่วนใหญ่ เพราะเวลาเต่าทะเลหายใจจะจำเป็นต้องโผล่ขึ้นมาบนผิวน้ำเป็นระยะๆ รวมถึงการตกปลาแบบใช้เบ็ดมีแนวโน้มที่จะจับและฆ่าเต่าทะเลโดยไม่ได้ตั้งใจได้เช่นเดียวกัน
อีกทั้งการทำประมงสมัยใหม่ อาจสร้างความเสียหายให้กับที่อยู่อาศัยของเต่าทะเล ซึ่งจะส่งผลร้ายแรงต่อระบบห่วงโซ่อาหาร
2. การจับโดยตรงหรือล่าแบบผิดกฎหมาย
เต่าทะเลทั่วโลกยังคงถูกล่าอย่างผิดกฎหมายจนทุกวันนี้ แม้ว่าจะมีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ห้ามล่าเต่าทะเลทั้ง 7 สายพันธุ์ แล้วก็ตาม
เหล่าเต่าทะเลถูกล่า เพื่อขายส่วนต่างๆ เช่น ไข่เต่า เนื้อ ผิวหนัง และกระดอง หลายศตวรรษที่ผ่านมา เต่ากระ ถูกล่าเพื่อเอากระดองสีทองและสีน้ำตาลสวยงาม มาใช้ทำเครื่องประดับและสินค้าฟุ่มเฟือยอื่นๆ สำหรับมนุษย์ และเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้สายพันธุ์นี้ใกล้สูญพันธุ์ขั้นวิกฤติ
ยังมีบางประเทศที่ยังอนุญาตให้ทำการค้าเต่ากระได้อยู่ในทุกวันนี้ โดยอ้างถึงการปฏิบัติทางวัฒนธรรมที่เคยมีมาอย่างยาวนานย้อนหลังไปถึง 400 ปี ซึ่งพบว่าในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ มาดากัสการ์ เป็นแหล่งล่าเต่าทะเลที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยประเทศเวียดนามนั้นเป็นต้นทางการค้าเต่าทะเลผิดกฎหมาย ส่วนประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่นนั้นเป็นประเทศที่สามารถพบผลิตภัณฑ์ผิดกฎหมายที่ทำมาจากเต่าทะเลได้มากที่สุด
‘ผู้หญิง’ มีบทบาทสำคัญในสังคมตั้งแต่ในอดีตกาล แต่หลายครั้งความไม่เท่าเทียมทางเพศทำให้ผู้หญิงไม่ได้ถูกชื่นชม หรือเชิดชูเกียรติตามปกติที่พวกเธอควรจะได้รับ การขับเคลื่อนสังคมเพื่อสิทธิ และความเท่าเทียมจึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่ภาคส่วนต่างๆ หันมาสนใจและพยายามผลักดันให้ผู้หญิงเข้ามามีบทบาทมากขึ้น รวมถึงเป็นกระบอกเสียง และสร้างพื้นที่การแสดงออกของผู้หญิงทั่วโลกเพื่อสังคมที่ทุกคนเท่าเทียมกัน บริษัทเฮอร์ชีย์ ประเทศไทย (HERSHEY’S Thailand) เปิดตัวแคมเปญพิเศษเพื่อเฉลิมฉลองวันสตรีสากลประจำปี โดยให้เกียรติเหล่าสตรีที่สร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับสังคม บอกเล่าเรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจผ่านลวดลายบนซองขนม
Descriptionกระทั่งปัจจุบันความเท่าเทียมทางเพศยังคงเป็นคำถามต่อสังคมอยู่เสมอ แม้ผู้หญิงจะมีศักยภาพในการทำสิ่งต่างๆ มากขึ้นก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถก้าวพ้นอุปสรรคของคำว่าเพศได้ การขับเคลื่อนสังคมเพื่อสิทธิและความเท่าเทียมจึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่ภาคส่วนต่างๆ หันมาสนใจและพยายามผลักดันให้ผู้หญิงเข้ามามีบทบาทมากขึ้น รวมถึงเป็นกระบอกเสียง และสร้างพื้นที่การแสดงออกของผู้หญิงทั่วโลกเพื่อสังคมที่ทุกคนเท่าเทียมกัน เนื่องในวันสตรีสากลในวันที่ 8 มีนาคมนี้ บริษัทเฮอร์ชีย์ ประเทศไทย (HERSHEY’S Thailand) เปิดตัวแคมเปญพิเศษเพื่อเฉลิมฉลองวันสตรีสากลประจำปี โดยให้เกียรติเหล่าสตรีที่สร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับสังคม บอกเล่าเรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจผ่านลวดลายบนซองขนม หลังจากการประสบความสำเร็จของแคมเปญ #Hershe เมื่อปีที่แล้ว
ผู้ได้รับคัดเลือกเป็น ‘ชีโร่ (SHERO)’ ในปีนี้มีทั้งสตรีไทย และสตรีจากประเทศในอาเซียน ได้แก่ ครูจิ๋ว-ทองพูล บัวศรี ครูอาสาให้เด็กด้อยโอกาสจากประเทศไทย, เออร์ลีน เกรซ มานิกวิส (Erline Grace Maniquis) นักเต้นชาวฟิลิปปินส์ผู้บกพร่องทางการได้ยินและครูสอนภาษามือทางออนไลน์ จากประเทศฟิลิปปินส์, ไบดา เฮอร์คัส (Baida Hercus) ผู้ก่อตั้ง Free Tree Society ที่ส่งเสริมแจกต้นไม้ให้ชาวมาเลเซียหันมาปลูกต้นไม้มากขึ้น และ อแมนดา ชาน (Amanda Chan) นักมวยชาวสิงคโปร์ ผู้คว้าเข็มขัดแชมป์โลก WBC (World Boxing Council) จากสภามวยโลก
เฮอร์ชีย์ จัดกิจกรรมบนแพลตฟอร์ม
ลุยจิ มิร์ริ (Luigi Mirri) ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายปฏิบัติการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และอินเดียของเฮอร์ชีย์ เปิดเผยว่า บริษัทใช้ช็อกโกแลตแท่งอันเป็นอัตลักษณ์ของเฮอร์ชีย์ในการเฉลิมฉลองตลอดทั้งเดือนมีนาคม เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการให้เกียรติ และแสดงความรู้สึกขอบคุณต่อสตรีทั้งหลายที่สร้างแรงบันดาลใจ และมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน ในช่วงของเดือนแห่งวันสตรีสากล
นอกจากนี้เฮอร์ชีย์ ประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคอื่นๆ ที่ร่วมในแคมเปญนี้ จะมอบรายได้ส่วนหนึ่งให้กับเกิร์ล อัป (Girl Up) องค์กรไม่แสวงผลกำไร ที่ช่วยพัฒนาทักษะ มอบสิทธิและโอกาสให้แก่เด็กผู้หญิงในการเป็นผู้นำ เพื่อเป็นกระบอกเสียงให้ผู้หญิงทุกคนทั่วโลกได้มีโอกาสสร้างความแตกต่างเชิงบวก #SheroStories
ร่วมส่งพลังบวกเพราะทุกคนเป็น Shero ได้
ในปีนี้ เฮอร์ชีย์ จัดกิจกรรมบนแพลตฟอร์มออนไลน์ผ่าน https://celebratehershe.com/th-th ที่มีกิจกรรมให้ร่วมสนุก อาทิ #SheroStories เล่าเรื่องราวความน่าประทับใจของเหล่าชีโร่รอบตัวคุณ และอัปรูปเพื่อสร้างรูปอวาตาร์เสมือน เพราะทุกคนก็เป็น SHERO ได้ และการทำแบบทดสอบเพื่อค้นหาว่าซุปเปอร์พาวเวอร์ลับของคุณคืออะไร
การจุดประกายครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กันและกัน เพื่อสานต่อการสร้างผลลัพธ์เชิงบวกอย่างไร้ขีดจำกัด ภายใต้ธีม ‘#เปิดโหมดปัง ปลุกพลัง SHERO’ เฮอร์ชีย์ตั้งเป้าที่จะใช้แพลตฟอร์มตนเองเพื่อเป็นกระบอกเสียงในการตอกย้ำว่า ผู้หญิงทุกคนสามารถเข้าถึงศักยภาพสูงสุดของตัวเองได้เมื่อได้รับการยอมรับ และได้รับการส่งเสริมทางศักยภาพ คำชื่นชม และกำลังใจที่ส่งถึงกัน จึงเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นพลังใจอันยิ่งใหญ่
นอกจากนี้เฮอร์ชีย์ ประเทศไทย ยังจัดกิจกรรมในวันสตรีสากล 8 มีนาคมนี้ที่ อาคาร ซีพี ทาวเวอร์ ชั้น 1 หน้า 7-Eleven และวันที่ 9 มีนาคม ที่สยามสแควร์วัน เพื่อร่วมเฟ้นหาพลัง SHERO ที่ซ่อนอยู่ภายในคุณ พร้อมถ่ายรูป 360 องศา ในเวอร์ชัน ซุปเปอร์ SHERO พร้อมร่วมลุ้นรับของรางวัลในงานอีกมากมาย
26 มกราคม 2567 Mirror Thailand ได้จัดนิทรรศการภาพถ่าย และงานที่ชวนบุคคลผู้ทรงพลังในหลายๆ แวดวงมาเฉลิมฉลอง พบปะสังสรรค์ และแลกเปลี่ยนความคิดเพื่อสร้างคอมมูนิตี้ของคนที่กำลังผลักดันเรื่องต่างๆ ให้แข็งแรง โดยเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ Mirror 50 : To Celebrate 50 Empowering Ones ไทยรัฐพลัสชวนผู้เข้าร่วมแคมเปญจำนวนหนึ่งตอบคำถามว่า เรื่องอะไรในสังคมที่ ‘เรา’ น่าจะให้ความสนใจ และแสดงจุดยืนร่วมกันเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง
ผู้เข้าร่วมแคมเปญมีทั้งผู้ที่ทำงานด้านสังคม ศิลปิน อินฟลูเอนเซอร์ ผู้ประกอบการ แบรนด์ ไปจนถึงดาวรุ่งในวงการต่างๆ ไทยรัฐพลัสจึงถือโอกาสนี้ชวนผู้เข้าร่วมแคมเปญจำนวนหนึ่งมาตอบคำถามว่า เมื่อมองไปในสังคมไทยตอนนี้ เรื่องอะไรที่ ‘เรา’ น่าจะให้ความสนใจ และสามารถแสดงจุดยืนร่วมกันเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง"ถ้าให้เลือกเรื่องเดียวเลย จะเลือกเรื่องรัฐธรรมนูญ เพราะถ้าไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต่อให้เราไม่ได้มีนายกฯ ชื่อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา แล้ว แต่เขาจะยังสิงสู่ในประเทศนี้อยู่ดี ผ่านรัฐธรรมนูญที่พวกเขาร่างไว้ "ข้อเสียสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับ’60 คือการทำให้องค์กรที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมีอำนาจเหนือองค์กรที่มาจากการเลือกตั้ง ทำให้เสียงของประชาชนไม่มีความหมาย และการจัดตั้งรัฐบาลตามเสียงของประชาชนเป็นไปได้ยาก หรือแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย การเลือกตั้งสองครั้งที่ผ่านมาก็เห็นกันดีอยู่แล้วว่า เมื่ออยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ผลมันจะออกมาเป็นอย่างไร เหล้าเก่าที่อยู่ในขวดใหม่ ยังไงมันก็ไม่โอเค ไม่อร่อย "เราจำเป็นที่จะต้องมีรัฐธรรมนูญฉบับที่ร่างโดยฟังเสียงของประชาชนจริงๆ แน่นอน ประชาชนแต่ละคนย่อมเห็นไม่เหมือนกันว่าอยากได้รัฐธรรมนูญแบบไหน แต่เราต้องรับฟังเสียงทุกคน และประมวลออกมาเป็นผลลัพธ์ที่ทุกคนพอจะยอมรับได้ร่วมกัน
"ตอนนี้เรื่องสำคัญที่อยากผลักดันคือเรื่องนิรโทษกรรม ปัจจุบันองค์กรภาคประชาสังคมก็มีการเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชนด้วย สถานการณ์ของคนที่ถูกดำเนินคดีทางการเมือง ดำเนินต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2549 ศูนย์ทนายทำงานหลังการรัฐประหารปี 2557 ปีนี้ก็จะครบ 10 ปีแล้ว เรามีสถิติจำนวนผู้ที่ถูกดำเนินคดีเกือบ 2,000 ราย คดีส่วนใหญ่ก็สืบเนื่องจากการชุมนุม การแสดงออก แสดงความคิดเห็น และการใช้เสรีภาพ เราเห็นว่าคดีเหล่านี้ รวมถึงคดี 112 เป็นเพียงแค่ความคิดเห็น เราควรจะเปิดพื้นที่ให้คนพูดได้ และไม่ควรถูกดำเนินคดีเพียงเพราะแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง ดังนั้นเราก็เลยผลักดันเรื่องการนิรโทษกรรม"
ก็จะยังตอบในประเด็นที่ทำแคมเปญกับ mirror50 ค่ะ คือเรื่องสิทธิมนุษยชน เรื่องนี้อยู่ในความสนใจ และความต้องการของคนในสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ในหลายๆ มิติมีสิทธิมนุษยชนเป็นส่วนหนึ่งเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความหลากหลายทางเพศ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม การศึกษา หรือเรื่องอื่นๆ เราอยากจะให้ทุกคนแสดงจุดยืนไปพร้อมกัน ลุกขึ้นยืนหยัดในเรื่องที่ตัวเองสนใจ เพื่อเรียกร้อง และก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย
วันที่ 31 มกราคม 2567 จะเป็นวันตัดสินอนาคตของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล และพรรคก้าวไกล รวมถึงอนาคตของการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ภายหลังการยื่นคำร้องของ ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายความของอดีตพระพุทธะอิสระ ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การที่พรรคก้าวไกลมีนโยบายเสนอแก้มาตรา 112 เป็นการกระทำที่เข้าข่ายเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือไม่
แม้ผลลัพธ์ที่เลวร้ายที่สุดสำหรับพิธาและพรรคก้าวไกลในคดีนี้ คือ การสั่งให้พิธาและพรรคก้าวไกลหยุดนโยบายแก้มาตรา 112 แต่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดีนี้อาจจะกลายเป็น ‘สารตั้งต้น’ ในการยุบพรรคก้าวไกลในอนาคต หากศาลเห็นว่า การเสนอแก้มาตรา 112 เป็นการล้มล้างการปกครองฯ และผลที่จะตามมาหลังการยุบพรรคก้าวไกล คือ การตัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรค รวมถึงอาจทำให้การเสนอแก้มาตรา 112 กลายเป็นสิ่งต้องห้ามตลอดไปคำร้องของธีรยุทธ
ย้อนรอยที่มาคดีล้มล้างการปกครองฯ การตอบโต้ก้าวไกลจากกลุ่มรอยัลลิสต์
คดีแก้ 112 เท่ากับล้มล้างการปกครองฯ ถูกริเริ่มโดย ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายความของอดีตพระพุทธะอิสระ ซึ่งถูกมองว่าเป็นกลุ่มกษัตริย์นิยมสุดโต่ง (Ultra Royalist) ได้ยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดให้ส่งคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีคำวินิจฉัยสั่งให้ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และพรรคก้าวไกล เลิกกระทำการใดๆ เพื่อยกเลิกหรือแก้มาตรา 112 อันเป็นการกระทำที่เข้าข่ายเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองฯ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49
ข้อเสนอแก้มาตรา 112 ของพรรคก้าวไกล มีสาระสำคัญ คือ
ภายหลังธีรยุทธได้ยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุด แต่ทางอัยการสูงสุดมิได้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน ธีรยุทธจึงใช้สิทธิยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญก็มีมติรับคำร้องดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2566
วันนี้เราจะมาแนะนำ 5 ที่เที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ จุดถ่ายรูปสวย ๆ ที่ห้ามพลาด ซึ่งเป็นทริปล่าสุดที่เราเพิ่งได้ไปเที่ยวมา โดยส่วนใหญ่จะเน้นเที่ยวที่อำเภอแม่แตงเป็นหลักค่ะ ลองชมกันก่อนนะคะ
ถือเป็นอีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเช็คอินที่ห้ามพลาดของจังหวัดเชียงใหม่ เพราะเป็นสถานที่ยอดนิยมของนักท่องเที่ยวที่รู้จักกันดีเมื่อมาที่นี่ นับว่าเป็นจุดไฮไลท์ที่จะต้องมาเก็บภาพ ไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหวกับนกพิราบ ก็เก็บให้ครบไปเลยค่ะ
ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีวนวัฒนาวิจัยอินทรขิล จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นสถานีงานวิจัยด้านป่าไม้ บรรยากาศรอบๆ ของสวนสนแห่งนี้ดูร่มรื่นสบายตา จึงเหมาะแก่การมาถ่ายภาพ หรือจะมาพักผ่อนหย่อนใจก็ได้ค่ะ ภายในจะมีจุดถ่ายภาพให้กับนักท่องเที่ยว บริเวณกว้างขว้างมากๆ เลือกมุมถ่ายภาพได้ตามใจกันเลย
แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่ตั้งอยู่ในอำเภอแม่แตง หมู่บ้านเล็กๆ แห่งนี้จะพาคุณเข้าถึงการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย เข้าถึงธรรมชาติ และแน่นอนว่าจุดถ่ายภาพของที่นี่ สวยทุกมุมเขาเลย ยิ่งถ้าโชคดีเราอาจได้พบกับทะเลหมอกในตอนเช้า สายธรรมชาติต้องห้ามพลาดที่นี่แล้วล่ะค่ะ
ป็นวัดที่มีความงดงามอลังการ วิหารต่างๆ ของวัดแห่งนี้ส่วนใหญ่เป็นไม้สัก ออกแบบทรงล้านนา ตามราวบันไดของวิหารจะมีรูปปั้นสัตว์ในวรรณคดีให้ได้ชมมากมายเลย เช่น นกยุง นาค ช้าง เป็นต้น นอกจากนี้บริเวณรอบๆ วัดยังมีปีนักษัตรประจำปีเกิด และพระธาตุจำลองที่สร้างอยู่ภายในตัววัดให้นักท่องเที่ยวได้มาทำบุญกัน
วิวทิวทัศน์ของเขื่อนล้อมรอบไปด้วยภูเขาที่เขียวขจี จึงทำให้ที่นี่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งของอำเภอแม่แตงที่ไม่ว่าจะมาเที่ยว หรือมาถ่ายภาพกับวิวเขาที่ซ้อนกันก็ไม่ผิดหวังเลยล่ะค่ะ
Content
ท่ามกลางการแข่งขันในอุตสาหกรรมเคป๊อปอันเข้มข้น การผลักดันของแต่ละค่าย กำลังความสามารถของศิลปินแต่ละคน ต่างก็งัดกลยุทธ์ออกมาเพื่อสร้างปรากฏการณ์อยู่เสมอ และดูเหมือนว่าการค้นหาประสบการณ์ใหม่ๆ ให้แฟนคลับ หรือการทดลองทำอะไรแปลกไปจากเดิมจะเป็นดีเอ็นเอหนึ่งของอุตสาหกรรมนี้ที่มีมูลค่ากว่าพันล้านเช่นกัน
และครั้งนี้คือ วงไอดอล VR มาร้องเล่น ออกไลฟ์พูดคุยสนุกๆ ผ่านภาพลักษณ์ไอดอลที่เป็นตัวการ์ตูน ด้วยเทคโนโลยี Motion Capture เพื่อทลายกรอบว่า ศิลปินเคป๊อปไม่จำเป็นต้องมีภาพลักษณ์เป็น ‘คนจริงๆ’ ก็ได้แม้ว่านี่ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับวงการเทคโนโลยี เพราะหลายคนที่ติดตามสตรีมเมอร์ คงจะเคยเห็น Vtuber ที่เหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์สายสตรีมเมอร์ใช้ภาพอวตาร์ หรือตัวการ์ตูนมาแทนหน้าตัวเอง และต่อมาก็มีวงไอดอล VR เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ISEGYE IDOL, MAVE:, StelLive
และล่าสุดคือ วง PLAVE (플레이브) บอยกรุ๊ปเกาหลีที่เดบิวต์เมื่อเดือนมีนาคม ปี 2023 โดยบริษัทสตาร์ทอัพ VLAST เป็นคนสร้างพวกเขาขึ้นมา สมาชิกของวงประกอบด้วย 5 คน คือ เยจุน (Yejun), โนอาห์ (Noah), แบมบี (Bamby), อึนโฮ (Eunho), ฮามิน (Hamin)
เป้าหมายสูงสุดของ PLAVE คือการทำให้แนวคิดของไอดอลเสมือนเป็นเรื่องปกติ และลดเส้นแบ่งระหว่างความบันเทิงเสมือนและความบันเทิงแบบดั้งเดิม
“เราเชื่อว่าเรากำลังสร้างเทรนด์ใหม่ โดยผสมผสานโลกเสมือนจริงและโลกไอดอลในชีวิตจริงเข้าด้วยกันอย่างลงตัว เราอยากให้คุณเห็นเราเป็นเพียงไอดอลที่ประกอบด้วยสมาชิกพิเศษอีกเล็กน้อย” อึนโฮ หนึ่งในสมาชิกพูดในงานเปิดตัว
และโนอาห์ สมาชิกอีกคนได้กล่าวเสริมว่า “ในฐานะผู้บุกเบิกยุคใหม่แห่งวงการบันเทิงเสมือนจริง ผมปรารถนาให้เราได้รับการยอมรับในฐานะวงดนตรีระดับตำนานด้วย”
หลังจากปล่อยมินิอัลบั้มชุดที่สองอย่าง ASTERUM : 134-1 ไปเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ยอดสตรีมเพลงสำหรับ 24 ชั่วโมงแรกบนชาร์ตเมลอน (Melon) วงไอดอล VR ก็สร้างสถิติด้วยการทะยานขึ้นอันดับ 2-4 ซึ่งแทบเรียกได้ว่ากวาดชาร์ตเกือบทั้งอัลบั้ม และมียอดสตรีมแต่ละเพลงสูงถึงหนึ่งล้านครั้งเกือบทุกเพลง ทำให้ PLAVE ขึ้นไปยืนบนชาร์ตหลักของเกาหลีได้ใกล้ๆ กับไอยู ศิลปินยอดนิยมที่ได้ชื่อว่าเป็นศิลปินแห่งชาติของเกาหลีเลย
ทำให้ PLAVE ได้รับการเสนอเข้าชิงรางวัล
สาขา Rookie of The Year ในงาน Seoul Music Award ครั้งที่ 33 และสุดท้ายก็คว้ารางวัล New Wave Star Award ในเวทีเดียวกันนี้ไปครองแทน